วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2564

หน่วยประมวลผลกลาง

1. Explain  Core 2 architecture

1.1 How many type of Core 2

   Core Duo, Core 2 Duo, Dual Core ความหมายตรงตัวของCore หมายถึง ใจกลางหรือแกน ส่วน Duo หรือ Dual ในความหมายสื่อได้ถึงจำนวน 2 หรือมาคู่ดูโอ้นั่นเอง ที่มาที่ไปของคำว่า Dual Core  

1.2 How different each Core 2

   ความแตกต่างระหว่าง Core Duo, Core 2 Duo, Dual Core 

   ความหมายของคำว่า Core เสียก่อน ความหมายตรงตัวของCore หมายถึง ใจกลางหรือแกน ส่วน Duo หรือ Dual ในความหมายสื่อได้ถึงจำนวน2 หรือมาคู่ดูโอ้นั่นเอง ผมขอเรียนชี้แจงที่มาที่ไปของคำว่า Dual Coreว่ามันเป็นเทคโนโลยีของใคร หรือมันคือชิพรุ่นไหนเสียก่อน ลืมคำว่า Duo อย่าคิดว่ามันคือคำเดียวกัน

1.3 Which is the best

   ประสิทธิภาพของ Core i7 2600K จากตระกูล Sandy Bridge นั้น มีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงหรือเทียบเท่ารุ่นใหญ่อย่าง Core i7 Extreme 975X หรือในบางกรณียังสามารถขยับเทียบชั้นได้กับ980X ด้วยซ้ำไป และจากอัตราการบริโภคพลังงานที่ออกมานั้น อยากบอกว่าเป็นอะไรที่น่าทึ่งมาก เพราะอัตราการใช้พลังงานนั้นเรียกว่าอยู่ในระดับครึ่งต่อครึ่ง จากประสิทธิภาพที่เท่าๆหรือใกล้เคียงกัน ในเรื่องนี้นับว่าเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจยิ่ง ซึ่งเราลองคิดดูเล่นๆว่าหากซีพียูในตระกุลดังกล่าวนี้ มีอัตราการใช้พลังงานในระดับที่เท่าๆกับ Bloomfield หรือ Westmere แล้วนั้นประสิทธิภาพของมันจะออกมาสักขนาดไหน ซึ่งในมุมที่ชัดเจนที่สุดหากให้ยกมาเปรียบเทียบกันก็คงจะเป็น 2600K และ 975X ที่ทั้งคู่ต่างมีจำนวนคอร์ดและเทรดที่เท่าๆกัน แถมประสิทธิภาพก็ใกล้เคียงกัน แต่การใช้พลังงานนั้น2600K ใช้น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเลย


2. Explain Core I Architecture

1.1 How many type of Core i

  • Core i3 มี 2 Core 
  • Core i5 มี 4 Core
  • Core i7 มี 4 Core 
  • Core i9 มี 6 Core

1.2 How different each Core i

   Celeron Dual Core กับ Celeron M จะเห็นความแตกต่างกันมาก ถึงแม้ว่าตัว Celeron M นั้นจะมีตัวคุณสัญญาณนาฬิกาที่มากกว่า ซึ่งส่งผลทำให้มีความเร็วของซีพียูที่มากกว่า Celeron Dual Core แล้วนั้น เราต้องพิจารณากันที่ FSB อีกด้วย เพราะตัว FSB จะช่วยในการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น รวมไปถึงตัว L2 cache ที่สามารถทำงานได้เป็น 2 เท่าในตัว Celeron Dual Core จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมการทำงานแบบ Dual Core จึงรวดเร็วทันใจกว่า 1 คอร์ นั่นเอง เพราะด้วยตัว L2 cache ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การทำงานเร็วกว่าเดิมเป็นหลายเท่าถึงแม้ตัวความเร็วของซีพียูในCeleron Dual Core จะน้อยกว่าก็จริง

การที่เอาตัว Celeron Dual Core มาเปรียบเทียบกัน Celeron M ให้เห็นก็เพราะว่า อยากให้เห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะถึงแม้ตัว Celeron M ในอดีตอาจจะทำให้หลายคนคิดว่า มันช้าเกินไป ส่วน คุณสมบัติต่างๆ ระหว่าง Celeron Dual Core กับ Pentium Dual Core จะเห็นว่า สเปกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งจำนวนคอร์ดของซีพียู ซ็อกเกต, L2 cache รวมไปถึงการลังกำลังไฟต่างก็เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนเลย เพราะทั้ง 2 ตัวนี้ต่างก็มีพื้นฐานมาจาก Core Microarchitecture เดียวกัน แต่ถ้าลองสังเกตดีๆ นะครับ จุดแตกต่างของทั้ง 2 รุ่นมีดังนี้

ความแตกต่างของ FSB มีผลต่อความเร็วในการประมวลผล

 ตวามแตกต่างอันแรกคือ FSB ซึ่ง Celeron Dual Core นั้นมี FSB 667 MHz แต่ Pentium Dual Core มีแค่ 533 MHz รวมไปถึง Clock Multiplier ซึ่งเป็นตัวคูณในการคำนวณความเร็วของซีพียู โดยCeleron Dual Core มีตัวคูณอยู่ที่ 10 และ Pentium Dual Core มีค่าตัวคูณ 11 เมื่อนำไปคำนวณรวมกับค่า FSB แล้วจะได้ผลดังนี้

(FSB 667 = 166, 533= 133)

Celeron Dual Core : 166 x 10 = 1660 MHz

Pentium Dual Core : 133 x 11 = 1463 MHz

จากการคำนวณจะเห็นได้ว่า ตัว FSB ของ Celeron Dual Core มีมากกว่า Pentium Dual Core ทำให้ความเร็วในการประมวลผลของซีพียูสามารถทำได้รวดเร็วกว่า แข่งกันที่การประหยัดพลังงาน

1.3 Which is the best

    ก็คือระบบประหยัดพลังภายในซีพียู ซึ่ง Pentium Dual Core ใช้เทคโนโลยี Enhance SpeedStep แต่ Celeron Dual Core ใช้เพียงแค่ FSB Low Power enhancement โดยจริงๆ แล้ว  Enhance SpeedStep      เป็นเทคโนโลยีเพื่อการจัดการกับพลังงานขณะประมวลผล โดยจะควบคุมการทำงานด้วย Switch Between Multiple Frequency ช่วยสลับระหว่างความถี่ไฟฟ้าที่ใช้ภายในซีพียูให้เหมาะกับสภาวะแวดล้อม เพราะซีพียูไม่ได้มีเฉพาะช่วงเวลาประมวลผลอย่างเดียว มันยังต้องมีช่วงพักผ่อนด้วย จากกระบวนการนี้จะทำให้พลังงานประหยัดมากยิ่งขึ้น ยืดอายุแบตเตอรี่ให้ยาวนานขึ้น ปกติหากไม่ใช้ซีพียูประหยัดพลังงาน อายุงานของแบตเตอรี่จะอยู่ประมาณ 1.5 – 3 ชั่วโมง แต่ ณ เวลานี้เชื่อว่า 4 – 5 ชั่วโมงยังสบาย แต่ว่า Celeron Dual Core เลือกใช้ FSB Low Power enhancement ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Enhance SpeedStep เท่านั้น โดยเลือกลดกำลังไฟในการทำงานของ FSB เท่านั้น ดังนั้นถ้าพูดถึงเรื่องการประหยัดไฟของ Celeron Dual Core นั้น อาจจะสู้ Pentium Dual Core ไม่ค่อยได้มากนัก

เป็นไงบ้างครับสำหรับความสามารถ และเทคโนโลยีของ Celeron Dual Core ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าตอนที่เป็น Celeron M รวมไปถึงการเปรียบเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Pentium Dual Core ที่ถือว่า เมื่อเปรียบชั้นเชิงกันแล้ว ค่อนข้างสูสี 


3. What is data bus and type of them.

รูปแบบบัสมี 3 ชนิด คือ

  • Data line (สายส่งข้อมูล หรือ บัสข้อมูล) เป็นเส้นทางขนานมีจำนวน 8 เส้น 16 เส้น 32เส้นหรือมากกว่าใช้สำหรับการส่งข้อมูลไปยังตำแหน่ง ที่ระบุ โดย Address bus และ ถูกควบคุมโดย Control bus
  • Address line (สายสัญญาณตำแหน่งข้อมูล)เป็นเส้นทางขนานเหมือนบัสข้อมูลมีจำนวนเท่ากันทำหน้าที่แตกต่างกับบัสข้อมูลคือ เป็นเส้นทางส่งผ่านสัญญาณดิจิตอลที่เป็นตัวกำหนดตำแหน่งรอรับข้อมูล หรือ ระบุตำแหน่งที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
  • Control line (สายสัญญาณควบคุม) เป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับส่งการควบคุม ไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ มีจำนวนเส้นทางไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับส่วนงานที่สัญญาณดิจิตอลจะเข้าไปควบคุมทำหน้าที่แบ่งการใช้เส้นทางและทิศทางการใช้เส้นทาง เพื่อไม่ให้ข้อมูล หรือตำแหน่งชนกัน


 4. What is Cache Memory.

    CACHE คือ หน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูงซึ่งเก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ถูกเรียกใช้หรือ เรียกใช้บ่อยๆ ข้อมูลและคำสั่งที่เก็บอยู่ใน CACHE ซึ่งทำงานโดยใช้ SRAM (STATIC RAM) จะถูกดึงไปใช้งานได้เร็วกว่าการดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ( MAIN MEMORY) ซึ่งใช้ DRAM (DYNAMIC RAM ) หลายเท่าตัว

ชนิดของ CACHE แบ่งเป็น 2 ชนิดดังนี้

  • Level 1 (L1 CACHE) คือ CACHE ที่สร้างลงบน chipCPU หรือเรียกอีกอย่างว่า internal CACHE มีขนาดเล็ก อย่างเช่น ขนาด 8k สำหรับ chip 486, เพนเทียมและ เพนเทียมโปรมีอยู่ 16k ส่วนเพนเทียม MMX และเพนเทียม II มี CACHE L1 ขนาด 32k
  • Level 2 (L2 CACHE) คือ CACHE ที่อยู่ระหว่าง CPU กับ DRAM หรือเรียกอีกอย่างว่า external CACHE แต่มีขนาด ใหญ่กว่า CACHEชนิด L1 มาก แต่ในปัจจุบันมี CACHE L2 ของคอมพิวเตอร์บางรุ่นอยู่บน Chip CPU เช่น Chip ของ intel Pentium II เป็นต้น


5. Explain Type of catch memory.

   ระบบโปรแกรมเดี่ยว การจัดการหน่วยความจำแบบหน่วยความจำจริงก็คือการใช้หน่วยความจำแบบธรรมดา โดยที่โปรแกรมของผู้ใช้จะต้องไม่โตเกินกว่าขนาดของหน่วยความจำจริงที่มีอยู่ (ในส่วนของผู้ใช้เท่านั้นไม่รวมส่วนของระบบปฏิบัติการ) ส่วนการทำโอเวอร์เลย์นั้นจะต่างกับแบบหน่วยความจำจริงตรงที่โปรแกรมของผู้ใช้มีขนาดโตกว่าขนาดของหน่วยความจำจริงที่มีอยู่ได้ โดยการโหลดเอาส่วนที่ใช้งานลงไปก่อน ส่วนไหนยังไม่ใช้ก็เก็บไว้ในดิสก์ (ดูบทที่ 4) ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้ใช้จะต้องเขียนโปรแกรมให้โปรแกรมเป็นผู้จัดการเองทั้งหมด ลักษณะการจัดการแบบโอเวอร์เลย์นี้มีหลักการทำงานเหมือนกับระบบหน่วยความจำเสมือน

     ระบบหลายโปรแกรม การจัดการหน่วยความจำแบบหน่วยความจำจริงนั้น แบ่งเป็นการจัดการแบบแบ่งพื้นที่ในหน่วยความจำและไม่ได้แบ่งหน่วยความจำ (แบบสลับหน่วยความจำ) การแบ่งหน่วยความจำยังแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภทคือ ส่วนแบ่งย่อยมีขนาดคงที่แน่นอน และขนาดไม่คงที่ (ดูบทที่ 4) อย่างไรก็ตามก็มีข้อจำกัดเช่นเดียวกับในระบบโปรแกรมเดี่ยวคือ ขนาดของโปรแกรมจะต้องไม่โตเกินกว่าขนาดของหน่วยความจำจริงที่มีอยู่ในระบบ ดังนั้นเราอาจแบ่งการจัดการหน่วยความจำออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ระบบหน่วยความจำจริง และระบบหน่วยความจำเสมือน โดยที่ในระบบหน่วยความจำจริง ขนาดของโปรแกรมจะต้องไม่โตกว่าขนาดของหน่วยความจำจริงที่มีอยู่ ลบด้วยขนาดของหน่วยความจำที่เป็นส่วนของระบบปฏิบัติการ ส่วนระบบหน่วยความจำเสมือนขนาดของโปรแกรมจะโตเท่าไรก็ได้


6. Explain Type of Ram.

Static RAM (SRAM) นิยมนำไปใช้เป็นหน่วยแครช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากกินกระแสไฟมากจนทำให้เกิดความร้อนสูง

Dynamic RAM(DRAM) นิยม นำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integrated Circuit) บนแผงโมดุลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM,DDR SDRAM,DDR-II และ RDRAM เป็นต้น โดยออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูง


7. What is Rom and type of them.

ชนิดของ ROM

ชนิดของ ROM จะมีหลายชนิด แตกต่างกันในแต่ละผู้ผลิต ความเร็ว และการใช้  ตัวอย่างชนิดของ ROM เช่น

  • Manual ROM
  • PROM (Programmable ROM)   
  • EPROM (Erasable Programmable ROM)
  • EAROM (Electrically Alterable ROM)


8. Define specification of the best computer and Explain each component.

สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ขั้นต่ำที่จะใช้กับระบบปฎิบัติการ Windows7

CPU ที่มีความเร็วมากกว่า 1 GHz  (ทั้งแบบ 32 และ 64-bit)

Ram 1 GB (สำหรับ 32-bit) และ Ram 2 GB (สำหรับ 64-bit)

พื้นที่ว่างของ  Harddisk ไม่น้อยกว่า 16 GB  (สำหรับ 32-bit) และ  20 GB (สำหรับ 64-bit)

อุปกรณ์การแสดงผล (เช่น การ์ดจอแบบแยกหรือ onboard ก็ได้ครับ) ที่รองรับ DirectX 9  รวมทั้ง WDDM 1.0 หรือสูงกว่า

ที่มา : https://sites.google.com/site/rnp2534/hnwy-pramwl-phl-hla-ng

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบแจ้งเตือน LINE Notify โดยเอา token notify ใส่ใน description google calendar แล้วสั่งแจ้งเตือนแยกรายกิจกรรม แยกบุคคลได้ตาม token

    ที่มา :  script.google.com function getTodaysEvents () {   // ดึง Calendar หลักของผู้ใช้   var calendar = CalendarApp . getCalendarBy...