วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เทศกาลไพรด์ LGBTQ Pride Parades โบกธงสีรุ้งให้สะบัด

 https://travel.trueid.net/detail/59eba2A0pRQV 


สังคมโลกเต็มไปด้วยความหลากหลาย หนึ่งในนั้นก็คือ ความหลากหลายทางเพศ ซึ่งพูดได้ว่า ตอนนี้ในหลายแห่ง หลายประเทศก็เปิดกว้าง แต่ก็มีอีกหลายๆ แห่งเช่นกัน ที่กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับความเท่าเทียม การให้ความยอมรับจากสังคมเท่าที่ควรจะเป็นในฐานะมนุษย์คนนึง

 

เทศกาลไพรด์ LGBTQ Pride Parades

Stefan Holm / Shutterstock.com

 การขับเคลื่อนให้มีการยอมรับ กลุ่ม LGBTQ นั้น มีมาทุกยุคทุกสมัย ในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป และเทศกาลที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ ก็คือหนึ่งในการแสดงออกถึงความต้องการสิทธิความเท่าเทียมกันในสังคมค่ะ นั่นก็คือ เทศกาลไพรด์ หรือ LGBTQ Parades หรือ ไพรด์ พาเหรด เทศกาลที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก จัดเต็ม โบกธงสีรุ้งให้สะบัด เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเสมอภาคของชาว LQBTQ ทั่วโลกนั่นเองค่ะ

 

LGBTQ คือ

กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยใช้อักษรย่อดังนี้

  • L : Lesbian เลสเบี้ยน คือ ผู้หญิงที่รักผู้หญิง
  • G : Gay เกย์ คือ ผู้ชายที่รักผู้ชาย
  • B : Bisexual ไบเซ็กชวล คือ ความรักของชายหรือหญิง กับเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามก็ได้
  • T : Transgender ทรานส์เจนเดอร์ คือคนที่เปลี่ยนเพศของตัวเอง ไปเป็นเพศตรงข้าม
  • Q : Queer เควียร์ คือ คนที่ไม่จำกัดเพศใดๆ โดยไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ

 

ไพรด์ พาเหรด คืออะไร ?

 

LGBTQ ไพรด์ พาเหรด พรบ.คู่ชีวิต

Shawn Goldberg / Shutterstock.com

 ทุกๆ ปีในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเดือนที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเรียกว่า Pride Month หรือ เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ จะมีการเฉลิมฉลองขึ้น มีการประดับธงสีรุ้ง ที่เป็นสัญลักษณ์ตามอาคารบ้านช่องต่างๆ และมีไฮไลท์ของงานก็คือ การเดินขบวนพาเหรดซึ่งเรียกว่า ไพรด์ พาเหรด (Pride Parades) เพื่อสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของกลุ่ม LGBTQ และเพื่อระลึกถึงการจลาจลสโตนวอล ในเดือนมิถุนายน ปี 1969

 

 

ที่มาของ ไพรด์ พาเหรด LGBTQ Pride

 

LGBTQ ไพรด์ พาเหรด

Eric Glenn / Shutterstock.com


      ต้องบอกว่าในช่วงปี ค.ศ.1969 นั้น สังคมโลกยังไม่เปิดกว้างเท่าที่ควร ความรักร่วมเพศจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการแต่งตัวต่างๆ ที่ไม่ตรงกับเพศสภาพก็จะโดนรังเกียจจากสังคม จึงมีเพียงไม่กี่ที่ที่เปิดกว้างยอมรับคนรักร่วมเพศได้ หนึ่งในนั้นก็คือ สโตนวอลล์ อินน์ (Stonewall Inn) บาร์เกย์ในนิวยอร์ก และที่นี่ก็คือจุดเริ่มต้นของ ไพรด์ พาเหรด LGBTQ Pride นั่นเอง

      เหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี 1969 ที่ สโตนวอลล์ อินน์ (Stonewall Inn) โดยในวันนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาตรวจค้นบาร์ตามปกติ แต่ในครั้งนั้นต่างจากที่เคย เพราะผู้คนในบาร์ต่างก็ขัดขืน และไม่ยอมต่อการเลือกปฏิบัติของตำรวจจนเกิดเป็นการจลาจลขึ้น และขยายเป็นวงกว้างในที่สุด

LGBTQ ไพรด์ พาเหรด พรบ.คู่ชีวิต

ColorMaker / Shutterstock.com

 

      เหตุการณ์รุนแรงในครั้งนั้นจึงกลายมาเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมในสังคมของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศทั่วโลก 1 ปีหลังจากนั้น ก็เกิดการเดินขบวนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศครั้งแรกในนิวยอร์ก ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และชิคาโก และมีการเดินขบวนในอีกหลายแห่งทั่วโลกตามมา จนกลายเป็นการจัดงานเฉลิมฉลองที่เต็มไปด้วยสีสัน ความสนุกสนาน และความฉูดฉาดแบบในปัจจุบันนั่นเอง

 

ความหมายของ ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ในงานไพรด์

  • สีแดง : การต่อสู้ หรือ ชีวิต
  • สีส้ม : การเยียวยา
  • สีเหลือง : พระอาทิตย์
  • สีเขียว : ธรรมชาติ
  • สีฟ้า สีคราม : ศิลปะ ความผสานกลมกลืน
  • สีม่วง : จิตวิญญาณของ LGBTQ

 


ไพรด์ พาเหรด LGBTQ Pride จัดที่ไหนบ้าง?

 

ไพรด์ พาเหรด LGBTQ Pride

Daria Medvedeva / Shutterstock.com


       ในแต่ละปี หลายๆ ประเทศจะมีกำหนดการจัดงาน LGBTQ Pride ขึ้น โดยจุดเด่นอยู่ที่การเดินขบวน ไพรด์ พาเหรด และมีผู้คนเข้าร่วมมากมาย ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม โดยมีประเทศหลักๆ ที่จัดงานต่อไปนี้ค่ะ

1. NYC Pride นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
2. EuroPride 2019 & Pride Week เวียนนา ออสเตรีย
3. Madrid Gay Pride มาดริด สเปน
4. Amsterdam Gay Pride อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
5. Mexico City Gay Pride เม็กซิโกซิตี้ เม็กซิโก
6. Stockholm Pride สต็อกโฮล์ม สวีเดน
7. Tel Aviv Gay Pride เทลอาวีฟ อิสราเอล
8. Dublin Gay Pride ดับลิน ไอร์แลนด์
9. Tokyo Rainbow Pride โตเกียว ญี่ปุ่น
10. Taiwan LGBT Pride ไทเป ไต้หวัน
11. Metro Manila Pride มะนิลา ฟิลิปปินส์

 

ไพรด์ พาเหรด ในไทย


       สำหรับในบ้านเรา ก็มีการจัดงานไพรด์เช่นกันค่ะที่ ภูเก็ต ซึ่งมีการจัดต่อเนื่องมากว่า 16 ปีแล้ว โดยกิจกรรมในแต่ละปีจะแตกต่างกันออกไป และแสดงความต้องการเรียกร้องความเท่าเทียมกันในสังคมเช่นกัน

คู่รักดารา LGBTQ ในไทย

 

LGBTQ ไพรด์ พาเหรด พรบ.คู่ชีวิต

 

       และเมื่อไม่นานมานี้ ในสังคมไทยของเรา ก็มีการประกาศผ่าน พรบ.คู่ชีวิต เพื่อเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการผลักดันในเกิดความเท่าเทียมกันในสังคมไทยค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบแจ้งเตือน LINE Notify โดยเอา token notify ใส่ใน description google calendar แล้วสั่งแจ้งเตือนแยกรายกิจกรรม แยกบุคคลได้ตาม token

    ที่มา :  script.google.com function getTodaysEvents () {   // ดึง Calendar หลักของผู้ใช้   var calendar = CalendarApp . getCalendarBy...